ประเพณีกวนข้าวทิพย์ คืออะไร

กวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ที่ปะปนกับพิธีกรรมของศาสนาพุทธ โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลที่นางสุชาดาได้ปรุงข้าวมธุปายาสถวายพระโคตมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ถือกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นของทิพย์ เมื่อได้จัดทำขึ้นจึงเรียกว่า ข้าวทิพย์

ซึ่งในประเทศไทย ชาวบ้านจะทำในเทศกาลออกพรรษา ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นการสักการบูชา ซึ่งถือเป็นสิริมงคลกับตนเองถ้ารับประทาน การกวนข้าวทิพย์ต้องอาศัยความสามัคคีจากชาวบ้านจึงจะสำเร็จลงได้ค่ะ การที่ทำในวันออกพรรษา เพื่อถวายเป็นเครื่องสักการบูชา และรับเสด็จพระพุทธองค์ที่เสด็จจากจำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พิธีกวนข้าวทิพย์ เริ่มต้นด้วยพิธีพราหมณ์ ตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาเครื่องประกอบในการตั้งบายศรี  มีไตรจีวร 1 ชุด และถาดใส่อาหารมีข้าว ไข่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ และพราหมณ์ก็ได้เริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์

และเครื่องปรุงข้าวทิพย์ ได้แก่ นม เนย ถั่ว งา น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และผลไม้ต่างๆ ใส่ร่วมกันลงไป แล้วกวนให้ข้าวสุกจนเหนียว การกวนข้าวทิพย์นี้จะต้องใช้สาวพรหมจารี นุ่งขาวห่มขาวอย่างน้อย 4 คน เป็นผู้กวน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทายก ทายิกา จะช่วยกันปั้นข้าวทิพย์เป็นก้อนๆ ถวายแด่พระภิกษุภายในวัด และจัดแบ่งไปถวายพระภิกษุตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ที่เหลือแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ไปร่วมทำบุญในวันนั้น เพื่อเป็นการให้ทาน

ปัจจุบันนิยมทำกันในทุกภาคของประเทศไทยค่ะ โดยในภาคกลางนิยมจัดทำกันในวันวิสาขบูชา แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมกระทำกันในวันก่อนออกพรรษาหนึ่งวันค่ะ และการจัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ก็สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความสามัคคีของชาวบ้านอย่างมากเลยค่ะ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีอันนี้งานนี้ต่อไปค่ะ #หยกเล่าเรื่อง #Influencerเล่าเรื่อง